ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ระบบสุดท้ายสลายตัว24 เมษายน พ.ศ. 2564
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อนิรัน
 • ลมแรงสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด931 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน26 ลูก
พายุไซโคลนเขตร้อน8 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง3 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 229
ความเสียหายทั้งหมด680.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2021)
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย
2561–62, 2562–63, 2563–64, 2564–65, 2565–66

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ภายในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก โดยฤดูกาลนี้ได้เริ่มนับอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และจะถูกนับรวมในฤดูกาลนี้ด้วย ในระหว่างฤดูกาล พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), สำนักอุตุนิยมวิทยา สภาพภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และศูนย์บริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี ในพอร์ตมอร์สบี ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของกองทัพเรือสหรัฐ (JTWC) ในรัฐฮาวาย สหรัฐ และศูนย์บริการทางอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย เมทเซอร์วิซแห่งประเทศนิวซีแลนด์, เมเตโอ-ฟร็องส์แห่งประเทศฝรั่งเศสบนเกาะเรอูนียง และกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ก็ต่างเฝ้าติดตามส่วนของแอ่งในระหว่างฤดูกาลด้วยแบบไม่เป็นทางการ

พายุ

[แก้]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 01U (บองโกโย)

[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 30 พฤศจิกายน (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 02U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 12 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
991 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.26 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน

[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 11 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
997 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.44 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 03U

[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 23 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 04U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 20 – 28 ธันวาคม
ความรุนแรง 35 กม./ชม. (25 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1003 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.62 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนอิโมเจน

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 6 มกราคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
989 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.21 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนจอชัว

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 17 มกราคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 08U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 23 มกราคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนคิมมี

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 19 มกราคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
987 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.15 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 10U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 27 มกราคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนลูคัส

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 12U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 28 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงแมเรียน

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม
(ออกนอกแอ่งระหว่าง 1–2 มีนาคม)
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงนิรัน

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 5 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
931 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.49 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนโอเดตต์

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 10 เมษายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
988 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.18 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงเซอโรจา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 12 เมษายน
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
971 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.67 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

[แก้]

สำนักอุตุนิยมวิทยา

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551–52 มีรายชื่อพายุเพียงชุดเดียวที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียประกาศใช้ โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้แบ่งศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศออสเตรเลียออกเป็นสามศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เพิร์ท, ศูนย์ดาร์วิน และศูนย์บริสเบน[1] โดยมีหน้าที่ตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดที่ก่อตัวในภูมิภาคออสเตรเลีย รวมถีงทำหน้าที่ออกคำแนะนำพิเศษให้ทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตาหรือ TCWC พอร์ตมอร์สบีด้วย โดยในฤดูกาลนี้ ชื่อพายุในรายการของออสเตรเลีย ถูกนำมาใช้ 7 ชื่อ

  • อิโมเจน
  • จอชัว
  • คิมมี
  • ลูคัส
  • แมเรียน
  • นิรัน
  • โอเดตต์

TCWC จาการ์ตา

[แก้]

ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในจาการ์ตา ทำการติดตามพายุหมุนเขตร้อนในขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออกไปจนถึง 145 องศาตะวันออก เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนในขอบเขตรับผิดชอบของ JTWC จาการ์ตานี้ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากทางศูนย์ฯ[1] โดยในฤดูกาลนี้ ชื่อพายุในรายการของ TCWC จาการ์ตา ถูกนำมาใช้ 1 ชื่อ

  • เซอโรจา

TCWC พอร์ตมอร์สบี

[แก้]

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในระหว่างขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้จนถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 151 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก จะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี บริเวณนี้บริเวณที่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก และไม่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและมีกำลังขึ้นจนได้รับชื่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว[2] โดยในฤดูกาลนี้ ไม่มีชื่อพายุในรายการของ TCWC พอร์ตมอร์สบี ถูกนำมาใช้เลย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Tropical Cyclone Operational plan for the South Pacific & Southeast Indian Ocean, 2014 Edition" (PDF). WMO. สืบค้นเมื่อ 2016-06-12.
  2. Gary Padgett (2008). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary October". Australian Severe Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]